40,000 บาทภายใน 7 วันกับ Diamond Holiday...ของจริง มาเป็นต้นสายก่อนใคร...ถ้าคุณรู้จัก TVI express นี่คือโปรแกรมที่จะมาทดแทนและอุดปัญหาที่เคยพบเจอ

www.diamondholidaytravel.co.cc

ไม่ ต้องรักษายอดรายเดือน

ไม่ ต้องเดินทางไปอบรม

ไม่ ต้องเก็บสต๊อกสินค้า

ไม่ ต้องขายปลีก

ไม่ ต้องเดินสุ่มให้เสียเวลา

10 กฎฉลาดจ่าย

by Nudtagid | 21:22 in |

10 กฎฉลาดจ่าย


ดัล รีมเพิล คอลัมนิสต์เวบไซต์ fool.com ได้แนะนำเทคนิคการเพิ่มทักษะการใช้จ่ายไม่ให้เงินทองรั่วไหล.ดัลรีมเพิล แนะนำให้จ่ายได้ด้วยสมอง เป็นการคิดรอบคอบก่อนจ่าย ไม่ให้เงินทองรั่วไหลหรือสูญเปล่าไว้อยู่เสมอ ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่จะช่วยสั่งสมมรดกกับสินทรัพย์ ให้มีแต่จะงอกเงยได้ทางอ้อม
1."จ่ายให้น้อยกว่าเงินที่หามาได้" คือกฎข้อแรกที่ดัลรีมเพิลแนะว่า เป็นด่านแรกที่เจ้าของกระเป๋าเงินต้องคิดต้องทำก่อนปล่อยให้เม็ดเงินไหลออก ไป และคำแนะนำนี้ชัดเจนถือเป็นกฎจำเป็นต้องทำ หรือท่องจำไว้ในใจเสมอว่า ไม่มีใครเคยใช้จ่ายเกินรายได้แล้ว จะสามารถไปถึงเป้าหมายความมั่นคงทางการเงินได้

2. "ซื้อแต่สิ่งสำคัญจำเป็น" อีกกฎหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งดัลรีมเพิลเพิ่มเติมว่า นอกจากให้ซื้อแต่สิ่งสำคัญ และจำเป็นแล้ว ขอให้ลืมสิ่งของนอกรายการที่อยากได้ไปเลย หากเจ้าของเงินซื้อหาของใช้ที่จำเป็น รองรับความต้องการในการดำรงชีพขั้นพื้นฐานได้ครอบคลุมแล้ว เงินที่เหลือสามารถนำไปใช้อย่างรอบคอบในกิจกรรมอื่น

การใช้เงินที่ เหลืออย่างรอบคอบ ไม่ได้หมายถึงความรอบคอบในการคลั่งไคล้อยากได้ด้วยอารมณ์ชั่ววูบตามแฟชั่น การไล่ตามให้ทันสินค้าหรือของออกใหม่ล่าสุด ไม่ทำให้เจ้าของเงินมีความสุขเท่ากับจ่ายเงินซื้อของที่มีคุณค่าสำหรับตัว เอง อย่าเกิดความไม่มั่นใจในจุดยืนของตัวเอง แม้เพื่อนบ้านคิดว่าคุณกำลังตระหนี่ถี่เหนียว ด้วยการซื้อของตกรุ่นไม่ทันสมัย

3."ไม่ซื้อ สิ่งเกินจำเป็นหรือไม่อยู่ในปัจจัย4" ดัลรีมเพิลย้ำว่าสิ่งของจำเป็นขั้นพื้นฐานในมุมมองของเขา หมายถึงอาหารต้องกินเป็นประจำ ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งของอื่นที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งตามปกติของใช้ชีวิตประจำวัน ต้องมีการลำดับการซื้อโดยการตัดสินใจด้วยตัวเอง และทำเหมือนเป็นหน้าที่

ใน กรณีของดัลรีมเพิล ช็อกโกแลตแท่งกับชีสเป็นของโปรด สำหรับคนอื่นอาจเป็นดีวีดีหรือวิดีโอเกมใหม่ แต่เมื่อจดรายการของไม่จำเป็นต้องซื้อไว้ด้านหลัง กำหนดให้สิ่งของจำเป็น เป็นรายการที่ต้องตัดสินใจซื้ออันดับแรก อาจทำให้เจ้าของเงินอยากซื้อหรืออยากกินของที่ไม่จำเป็นน้อยลง

4 "ซื้อหาให้คำนึงถึงมูลค่ากับคุณค่า" กฎข้อนี้หมายความว่า การซื้อต้องได้สินค้าดีที่สุด มีอายุการใช้งานนานที่สุด ให้คุ้มค่ากับเงินทุกบาททุกสตางค์ที่จ่ายไป แต่ดัลรีมเพิลเตือนว่า อย่าคว้าเอาสิ่งของราคาถูกสุดในทันที เว้นเสียแต่ว่าเจ้าของเงินไม่สนใจหรือไม่ได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพ

โดย ดัลรีมเพิลอธิบายว่าเจ้าของเงินจะต้องทำการสำรวจหาข้อมูลบ้าง และต้องมีเหตุผลกับไอเดียที่ดี ยิ่งการซื้อเพื่อจะได้ของชิ้นใหญ่ขึ้น ต้องวางแผนกันนานหน่อย หลังประเมินว่าอยากได้หรืออยากซื้อ แต่ของที่จะซื้อจึงต้องเน้นที่คุณภาพและอายุการใช้งาน

5"ลงทุนเพื่อคุณภาพ" สำหรับกฎข้อนี้ ดัลรีมเพิลแนะว่าเจ้าของเงินต้องนึกอยู่เสมอว่า การซื้อของแต่ละครั้งต้องได้มูลค่ากับอายุของสินค้ายาวนาน หรือมีความคงทนมากที่สุด

ตามแหล่งต่างๆ มีสินค้าหรือสิ่งของรายการ ที่มีคุณสมบัติการใช้สอยมากมาย ซึ่งเป็นสิ่งของใช้สอยที่สามารถกลายเป็นของอีกชิ้นหนึ่งที่มีความคงทนถาวรใน บ้าน

พยายามซื้อสิ่งของเครื่องใช้ไม้สอยภายในบ้าน ที่คงทน และอยู่ได้นานที่สุด หากเป็นไปได้ให้ใช้ได้นานจนตลอดชีวิตผู้ใช้ อย่างเช่น การหาซื้อจานชามอุปกรณ์ทานอาหารค่ำ ที่เจ้าของเงินสามารถเป็นเจ้าของ และใช้ประโยชน์ไปได้อีกนาน หรือหาซื้อไขควงสักตัวหนึ่งที่สามารถใช้ และเก็บรักษาไว้ได้คงทน จนสามารถนำไปใช้อย่างคุ้มค่าชั่วลูกชั่วหลาน

กฎ ข้อนี้เจ้าของเงินจำเป็นต้องใช้ความคิดมากขึ้น เกี่ยวกับรสนิยมและความต้องการตามความจำเป็นของตัวเอง ซึ่งความรอบคอบจะช่วยประหยัดเงินได้ ก่อนตัดสินใจควักกระเป๋าซื้อ

ขอ ให้คิดอยู่เสมอว่า หากใช้จ่ายได้สินค้าตรงใจแถมประหยัดตั้งแต่ต้น จะช่วยขจัดปัญหาต้นทุนที่อาจบานปลายเพราะต้องคอยซื้อของใหม่มาทดแทนของเก่า ที่ขาดคุณภาพไม่คงทน

6 "ให้คำนึงถึงความจำ เป็นของตัวเอง" เพื่อไม่ให้ในบ้านรกไปด้วยของใช้ไม่ได้ใช้งาน โดยการซื้อของต่างๆ ไว้ล่วงหน้าโดยที่ยังไม่ต้องการนำมาใช้จริง

กฎ ข้อนี้ของดัลรีมเพิล สามารถนำไปประยุกต์ใช้ปฏิบัติตัดสินใจกับการซื้อของใช้งาน ที่ต้องเลือกรุ่น และยี่ห้อซึ่งมีหลากหลาย อย่างคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ

ขอให้ จำไว้ว่า หากเจ้าของเงินยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ของฟุ่มเฟือยหรูหรา ให้หักห้ามใจ และอย่าได้ควักเงินซื้อของเกินความจำเป็นเหล่านี้

7 "ลองเลิกยึดติดกับยี่ห้อสินค้า" อาจเป็นเรื่องยากกับการปรับเปลี่ยนนิสัยการใช้ของ เพราะจากที่เคยเดินเข้าไปหยิบน้ำยาซักผ้าหรือน้ำยาซักแห้งยี่ห้อเดิมทุกๆ ครั้ง บนชั้นวางจำหน่ายของตามห้าง

ดัลรีมเพิลขอให้ผู้บริโภคคนไทย ลองเลือกใช้สินค้าอีกยี่ห้อหนึ่งที่มีราคาถูกกว่า หรือสินค้าทางเลือกอื่นๆ ที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน แม้อาจไม่มียี่ห้อดังการันตีบ้างบางโอกาส ถือเป็นการลองใช้สินค้าที่มีคุณภาพเหมือนๆ กัน เพื่อจะได้จ่ายน้อยลง

8 "ซื้อด้วยความใจเย็น" การซื้อสิ่งของเครื่องใช้ใดๆ ก็ตามแบบรีบร้อนฉุกละหุก โดยเฉพาะสิ่งของที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นใหญ่ อาจทำให้ผู้ซื้อรู้สึกผิดหวังได้ และในกรณีที่รู้ว่าเครื่องซักผ้าที่มีอยู่ใช้งานได้อีกไม่นาน ขอให้เริ่มต้นหาเครื่องซักผ้าใหม่ได้เลย

แต่ก่อนจะตัดสินใจซื้อ ขอคิดให้นานทบทวนให้ดี ใจเย็นอีกสักหน่อย จะช่วยเจ้าของเงินประหยัดจ่ายไปได้อีกมาก หรืออย่างน้อยเจ้าของเงินยังมีเวลา สามารถประเมินบริหารงบประมาณได้ว่า จะซื้อเครื่องซักผ้าใหม่อย่างไร ในราคาไม่เกินงบประมาณ

9 "ตรวจสอบใจว่าอยากซื้อหรือไม่" เป็นกฎที่ดัลรีมเพิลแนะนำไว้เป็นข้อสุดท้ายว่า หากผู้บริโภครู้สึกตัวเองว่ากำลังดึงบัตรเครดิตออกมา เพื่อซื้อของบางอย่างที่ขาดไม่ได้ในชีวิตนี้ ขอให้หยุดความคิดที่จะซื้อไว้สักพักหนึ่ง

โดยดัลรีมเพิลขอให้ผู้ บริโภควัดใจตัวเองอีกสักรอบ รอคอยสัก 2-3 วัน หรือ สักสัปดาห์หนึ่งค่อยกลับมาดูสิ่งของที่จะซื้อใหม่อีกครั้ง

หากผู้ บริโภคคิดว่ามีชีวิตอยู่ไม่ได้ถ้าขาดสิ่งของที่หมายตาอยากได้ แสดงว่าสิ่งของชิ้นนั้นสำคัญควรค่าแก่การซื้อ แต่ในทางกลับกัน หากผู้บริโภคลืมทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งของชิ้นนี้ หมายความว่าสิ่งของกลับไม่มีค่าหรือจูงใจให้ซื้ออีก

ดัลรีมเพิลฝาก ทิ้งท้ายไว้ว่า ด้วยกฎเตือนใจที่เขานำเสนอมา น่าจะช่วยผู้บริโภคคนไทย ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก เมื่อคิดจะเดินทางจับจ่ายซื้อของ จากนี้ไปจะสามารถบริหารเงินกับค่าใช้จ่ายได้ดี ด้วยการคิดถึงประโยชน์กับการประหยัดเป็นที่ตั้ง เพื่อการเงินแข็งแกร่ง และมั่นคงของตัวเองในอนาคต

จากบทความในเวปไซด์กรุงเทพธุรกิจหายไป หนึ่งข้อคือ
"Scrimp on low priorities"ซึ่ง คือ การตัดรายการของที่มีความสำคัญในอันดับท้ายๆ คุณควรใช้จ่ายให้น้อยที่สุดในสิ่งของที่คุณไม่ต้องใส่ใจอะไรมากหรือเป็นสิ่ง ที่คุณคิดว่าจะใช้ของที่ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง...คือจงจ่ายให้น้อยใน สิ่งที่คิดว่าจะใช้เพียงครั้งเดียวแล้วต้องทิ้ง ถ้าเป็นไปได้ก็ควรตัดรายการที่สำคัญน้อยๆทิ้งไปเลย

5 นิสัยทางการเงินที่ควรแก้ไข

๑.ผลี ผลามลงทุน
กระโจนเข้าซื้อหุ้นร้อนทันทีที่เพื่อนหรือ โบรกเกอร์เชียร์ เพราะหวังว่าจะทำกำไรระยะสั้น!!!
ลงทุนในกอง ทุนอสังหาริมทรัพย์ เพราะฟังผู้รู้บอกว่าเป็นช่องทางที่หยิบยื่นกำไรอันงดงามให้!!!!
ไม่พูด พร่ำทำเพลง เห็นราคาทองวิ่งฉิว เลยขอร่วมแจม เพราะอยากได้กำไรจากการขยับตัวขึ้นของราคาทองคำ!!!
เหล่านี้รึเปล่า ที่เป็นพฤติกรรมการลงทุนของคุณ แล้วท้ายสุด ต้องมานั่งเก๊กซิมกับผลที่ออกมา เพราะฤทธิ์แต่ผลีผลามเข้าไปลงทุนโดยไม่ศึกษาให้รู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้
นิสัย การลงทุนแย่ๆ แบบนี้ ใครๆ ก็เป็นได้ โดยมากเมื่อปล่อยให้ความโลภเข้ามาครอบงำเมื่อไหร่ รับรองได้เลยว่าคุณจะผลีผลามเข้าลงทุนอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง
ถ้าปีจอ ทั้งปี คุณยังลงทุนด้วยพฤติกรรมแบบนี้ อย่าปล่อยให้ปีหมูซ้ำรอยปีจอ เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการวางแผนลงทุนอย่างมีสติมากขึ้น เช่น ปีนี้ตั้งเป้าไว้ตั้งแต่ต้นปีว่าก่อนลงทุนคุณจะไตร่ตรองอย่างละเอียด ศึกษาทุกรายละเอียดอย่างถ่องแท้ ให้รู้ลึกรู้จริง ก่อนจะตัดสินใจควักเงินลงทุน
หรือปีนี้ตั้งใจจะรื้อปรับขยับพอร์ตใหม่ วางมือจากพวกปั่นหุ้นเก็งกำไร หวือหวาผาดโผน ก็ลองศึกษาหาความรู้เจาะลึกหุ้นพื้นฐานให้เยอะเข้าไว้ เพื่อเริ่มต้นปีใหม่ด้วยพอร์ตที่สดใสกว่าเดิม
ไม่เพียงเลิกนิสัยผลีผลาม เข้าลงทุนเท่านั้น แต่ควรจะเริ่มต้นปีใหม่ด้วยการศึกษาหาช่องทางการลงทุนใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นตราสารอนุพันธ์ หรือพวกกองทุนคอมมูนิตี้ ไปจนถึงศึกษาการลงทุนในรูปแบบใหม่ๆ เช่น การลงทุนทางออนไลน์

๒.ไม่เคยคิดออมเงินตอนนี้ภาระล้นมือ ไหนจะต้องส่งเงินให้พ่อแม่ ไหนจะต้องส่งหลานเรียน เอาไว้ให้อยู่ตัวก่อนแล้วค่อยลงมือออม!!!
โอ้โห..ต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนมือถือ ผ่อนแอร์ เดือนๆ หนึ่งจะให้เหลือเงินที่ไหนไปออม!!!
เงิน เดือนน้อยจะแย่ ค่าน้ำมันก็แพง ดอกเบี้ยก็แพง เงินเฟ้อก็พุ่ง ถ้ามีเงินเหลือไว้ออมก็เกินไปล่ะ!!!!
เอาไว้ ปีหน้าออมแน่ๆ ปีนี้ไม่ไหว ขอสะสางพวกหนี้บัตรเครดิต หนี้เงินด่วนก่อน!!!
ปีที่ผ่านๆ มา คุณอาจจะเคยผลัดวันประกันพรุ่งกับการออม ซึ่งเป็นนิสัยทางการเงินที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ไหนๆ ปีใหม่นี้เป็นปีหมู แค่สัญลักษณ์ก็ถือว่าเชิญชวนให้ออมเงินแล้ว ฉะนั้น สลัดทิ้งซะ ไอ้นิสัยผลัดวันประกันพรุ่งกับการออม
ถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นตรงจุดไหนอย่าง ไร พอเริ่มต้นปีหมู ก็ให้เดินไปที่แบงก์แล้วเปิดบัญชีเงินฝากประจำ แล้วฝากเข้าทุกเดือนๆ หรือสำหรับคนที่มีเค้าว่าเป็นคนที่มีวินัยหย่อนยาน ลองทำโปรแกรมหักบัญชีอัตโนมัติเข้าบัญชีเงินฝากประจำไปเลย รับรองว่าพอสิ้นปีหมูก้าวเข้าสู่ปีชวด คุณจะกลายเป็นคนใหม่ที่มีเงินออม

๓.ฟุ่มเฟือยเป็นนิสัย
เพิ่งซื้อกระเป๋า ใบใหม่ราคาเรือนพันเมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี้เอง วันนี้ซื้ออีกใบเพราะเห็นว่าสวยดีและอยากได้!!!
ใครๆ ก็รู้ว่าชอบชอปปิงมาแต่ไหนแต่ไร ไม่เห็นจะแปลกถ้าช้อปวันละหมื่น เงินเดือนไม่พอเดี๋ยวค่อยไปขอพ่อแม่!!
เป็นคนสะสมรองเท้า เห็นทีไรเป็นต้องซื้อ ถึงจะคู่ละพันหรือคู่ละหมื่นก็ต้องซื้อ ถ้าใจชอบซะอย่าง!!!
เหล่านี้รึเปล่าที่เป็นนิสัยการใช้เงินของคุณ โละทิ้งไปเลยถ้าปีใหม่นี้คุณอยากเป็นคนที่มีเงินออมเก็บเป็นกอบเป็นกำเหมือน อย่างคนอื่นเขา
เพราะการฟุ่มเฟือยจนเป็นนิสัยนี่แหละ ที่หากปล่อยทิ้งไว้ ก็มีแต่จะทำให้คุณตั้งหลักการออมไม่ได้ซะที สลัดทิ้งนิสัยฟุ่มเฟือยให้อยู่กับปีจอนี่แหละ ปีหมูที่กำลังจะคืบคลานมาถึงนี้ ขอให้คุณคิดหน้าคิดหลังก่อนทุกครั้งที่จะจับจ่าย ใช้สอยอย่างมีเหตุมีผล และให้คุ้มค่าทุกบาททุกสตางค์

๔.สร้าง หนี้ซ้ำเติมตัวเอง
หมุนเงินไม่ทัน โชคดีที่กู้หนี้นอกระบบมาแก้สถานการณ์ไว้ได้ทัน!!!
ก็เห็นเจ้าหน้าที่ แบงก์ที่โทรมา เขาบอกว่าให้ดอกเบี้ยถูกเป็นพิเศษก็เลยกู้ไว้ พอดีกำลังอยากซื้อทีวีเครื่องใหม่!!!
เพิ่งตกลงทำบัตรเครดิตใบใหม่ไป ตอนนี้มี 5 ใบแล้ว เผื่อไว้ก่อน จะได้กดเงินจากบัตรใหม่มาโปะหนี้บัตรเก่า!!!
พอทีเถอะ สำหรับการสร้างหนี้ขึ้นมาซ้ำเติมตัวเอง จำไว้ให้ขึ้นใจ ไม่ว่าจะเป็นหนี้สายพันธ์ไหนก็ช่าง ก็คอยแต่จะบั่นทอนสุขภาพทางการเงินของคุณทั้งสิ้น
จะบอกให้สลัดหนี้ทิ้ง รับปีหมู คงไม่หมูอย่างที่คิด เพราะฉะนั้น ก็ให้โละทิ้งนิสัยชอบสร้างหนี้ ใจแข็งเข้าไว้อย่าเผลอไปใช้บัตรเครดิตกดเงินสด อย่าหลงคารมแบงก์ที่มักจะสร้างโปรโมชั่นกู้เงินด้วยดอกเบี้ยถูกๆ ในช่วงแรก อย่าคิดสั้นด้วยการหันไปกู้หนี้นอกระบบ
ให้ปีหมูที่กำลังเดินทางมาถึง เป็นปีที่คุณค่อยๆ ปลดเปลื้องหนี้อย่างมุ่งมั่นและตั้งอกตั้งใจ อย่าริไปกู้อะไรสร้างหนี้เพิ่มให้ชีวิตอีก อาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับการสางหนี้ให้หมดอย่างรวดเร็ว แต่ขอให้อดทนแล้ววันหนึ่งอิสรภาพทางการเงินก็จะอยู่เคียงข้างคุณ

๕.มองข้ามเรื่องที่ควรใส่ใจเปิดดูสเตทเมนท์ บัตรเครดิตเสร็จ ก็ขยำทิ้งลงถังขยะ ขี้เกียจเก็บไว้ รกเปล่าๆ !!!!
อ๋อ ใบเสร็จค่าประกัน ค่างวดผ่อนบ้านเหรอ จ่ายแล้วก็แล้วกัน เก็บไว้ทำไม!!!
ไม่ ค่อยได้สนใจหรอกเรื่องลงทุนน่ะ ซื้อกองทุนไว้แล้วก็ปล่อยให้มืออาชีพเขาบริหารไป!!!

ถ้าเหล่านี้คือ พฤติกรรมปกติของคุณ น่าจะปรับเปลี่ยนซะ เปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ที่ใส่ใจเรื่องที่ดีมีประโยชน์
เช่นเรื่องบัตร เครดิต ไม่ใช่สักแต่ว่าเปิดมาดูแล้วขยำทิ้ง แต่ตรวจตราซะหน่อยว่ามีอะไรโผล่มาอย่างผิดปกติหรือเปล่า หรือแม้แต่ค่างวดผ่อนบ้านผ่อนรถหรือผ่อนอะไรก็ตาม ทางที่ดีควรเก็บไว้ก่อน เผื่อว่ามีปัญหาขึ้นมาจะได้งัดใบเสร็จมายืนยันการชำระของคุณได้

ส่วน เรื่องลงทุนหรือออมก็เช่นกัน เมื่อทำธุรกรรมการเงินอะไรก็แล้วแต่ อย่าได้เพิกเฉยหรือละเลย แต่ต้องติดตามผลการลงทุน เก็บหลักฐานการลงทุนหรือออมเอาไว้ หากปีก่อนๆ คุณยังมองข้ามหรือละเลยเรื่องที่ควรใส่ใจล่ะก็ ยังไม่สายเกินไป เริ่มซะตั้งแต่ปีหมูนี่แหละ

อิสรภาพทางการเงินขั้นพื้นฐาน


ไป อ่านตามLinkที่เห็นจากเวปบอร์ดที่เข้าไปอ่านประจำ

อิสรภาพทางการเงินขั้นพื้นฐาน
อาทิตย์, 04 มีนาคม 2007
อิสรภาพทางการเงินไม่ใช่เรื่องยาก คุณเองก็สามารถเริ่มต้นได้ ด้วยแนวทางง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

1) เก็บ 10 เปอร์เซ็นต์ (ของรายรับทุกประเภท)

การ ออมเป็นจุดเริ่มต้นสู่อิสรภาพทางการเงิน เริ่มต้นออมง่าย ๆ โดยการหักเก็บ 10 เปอร์เซ็นต์จากรายรับทุกประเภทของคุณ ทันทีที่ได้รับเงินมา อย่าเพิ่งใช้จ่าย หักเก็บฝากธนาคารให้เป็นนิสัย

เริ่มทำวันนี้ แม้จะเป็นหนี้อยู่ก็ตาม คนมั่งมีหลายคน ก็เริ่มต้นจากวินัยทางการเงินง่าย ๆ เหล่านี้ทั้งสิ้น

ทำทันที ตอนนี้มีเงินอยู่ในมือ หรือ ATM เท่าไหร่ หัก 10 เปอร์เซ็นต์ เปิดบัญชีใหม่ บัญชีที่คุณจะไม่ถอนออกมาใช้จ่ายเด็ดขาด จำไว้ว่า ไม่ต้องรอให้เยอะ การตัดสินใจทำทันทีเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า

2) เศรษฐกิจพอเพียง

คนเราในทุกวันนี้มีทุกข์เพราะไม่ รู้จักพอ เราใช้ชีวิตกันเกินพอดี เกินความจำเป็น และนั่นคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้เราอยู่ห่างจากอิสรภาพทางการเงินไปไกลทุกที

นิตยสาร Financial Freedom ขอเชิญคนไทยทุกคน ร่วมเดินทางตามรอยเท้าพ่อของคนไทยทั้งแผ่นดิน ด้วยการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ลด ละ หลีกเลี่ยงการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างมีสติ รู้ยั้งคิดก่อนใช้จ่าย เพื่อความสุขในวันนี้ และวันข้างหน้าของพวกเราทุกคน

ทำ ทันที ลองจดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของคุณ ทุกวันจนครบ 1 เดือน แยกค่าใช้จ่ายออกเป็นกลุ่ม เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าเสื้อผ้า เป็นต้น แล้วคุณจะพบว่า คุณสามารถประหยัดเงินในค่าใช้จ่ายบางรายการได้ทันที

3) สำรองใช้จ่าย หกเดือน

คนหลายคน ที่มีหน้าที่การงานที่ดี ก็มักจะประมาทกับชีวิต ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน คนทำงานอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ทุกคนล้วนมีความเสี่ยงทั้งสิ้น สำรองเงินไว้ล่วงหน้า อย่าประมาท

เพราะเมื่อวันนั้นมาถึง ผู้ที่เตรียมตัวพร้อมเท่านั้น ที่จะรักษาสถานภาพของตนอยู่ได้

ทำ ทันที เริ่มต้นวางแผนเก็บเงินสำรอง 6 เดือน (ประมาณการจากรายจ่ายต่อเดือน) เก็บเดือนละเท่าไหร่ อีกกี่เดือนจึงจะเงินสำรองครบ 6 เดือน

4) ประกันชีวิต และสุขภาพ

กฎทองของ การประกัน ก็คือ “คุณไม่สามารถซื้อประกันได้ในเวลาที่คุณต้องการ” ใครเล่าจะล่วงรู้วันข้างหน้า จงไม่ประมาทและเตรียมการพร้อมไว้ดีกว่า เพื่อวันที่เกิดสิ่งไม่คาดฝัน ปัญหาเหล่านั้นจะไม่ส่งผลกระทบกับครอบครัวของคุณ

ทำทันที เริ่มมองหาประกันชีวิต และสุขภาพที่คุ้มครองรายจ่ายของคุณ วางแผนเก็บเงิน เพื่อวันข้างหน้า

5) เรียนรู้ตลอดชีวิต

เพราะ ความรู้ คือ เครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะพาคุณไปสู่อิสรภาพทางการเงิน คนที่หยุดเรียน หยุดรู้ ไม่มีทางก้าวหน้าได้ ดังนั้น จงเริ่มต้นลงทุนเวลาให้กับการเรียนรู้ของคุณ

ลองพิจารณาเวลาที่คุณ ใช้ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ ว่าเราใช้ไปกับเรื่องใดบ้าง และแบ่งเวลาให้กับการเรียนรู้สักแค่ไหน มีสุภาษิตอังกฤษกล่าวไว้ว่า “You’re what you study”

รูปแบบการเรียนรู้มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรียนรู้ในชั้นเรียน เรียนรู้จากการเข้าร่วมสัมมนาที่เป็นประโยชน์ อ่านหนังสือเพิ่มพูนทักษะ ใช้เวลากับชมรม หรือสมาคมที่สนใจในเรื่องเดียวกับคุณ พูดคุยกับผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ จงอย่าปิดกั้นตัวเองด้วยวิธีการเรียนรู้แบบเดิม ๆ แล้วคุณจะค้นพบว่า “โลกใบนี้ ไม่ยากเกินไปที่จะใช้ชีวิตอยู่”

ทำ ทันที พิจารณาจากสิ่งที่คุณสนใจ เริ่มมองหาคอร์สอบรมสัมมนาที่เพิ่มพูนความรู้ หรือเข้าร่วมกิจกรรมกับชมรมที่คุณสนใจ

6. บริจาคตามกำลัง

สังคมจะมีความสุขได้ ถ้าผู้คนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ร่วมส่งเสริมแนวคิดบริจาคตามกำลัง แบ่งปันสู่ผู้ที่ด้อยกว่า เพื่อสังคมที่มีความสุข

“อย่ารอให้พร้อม ถึงคิดบริจาค เพราะเท่าที่ท่านมีอยู่ ก็อาจจะมากเพียงพอสำหรับใครบางคนแล้ว”

ทำทันที หยิบเงิน 1 บาท เตรียมไว้เพื่อหย่อนลงในกล่องบริจาคกล่องแรกที่คุณเจอในวันนี้

นำ บทความมาจาก http://www.ff-mag.com/content/blogcategory/14/56/lang,utf-8/

6 ขั้นตอนสู่อิสรภาพทางการเงิน





The 6 Steps to Financial Freedom

1) จัดทำบัญชี และงบการเงิน

การ เดินทางสู่อิสรภาพทางการเงินก็เหมือนกันกับการเดินทางทั่วไปที่ต้องมีแผนที่ นำทาง ดังนั้นก่อนจะเริ่มเดินทาง คุณเองควรจะรู้ก่อนว่า ปัจจุบันคุณอยู่ ณ จุดไหนของคำว่า “อิสรภาพทางการเงิน”

ลองจัดทำงบการเงิน

2) ตั้งเป้าหมาย และวางแผน

เริ่ม ต้นจากอิสรภาพทางการเงินขั้นพื้นฐาน 6 ประการ คือ
• เศรษฐกิจพอเพียง
• เก็บ 10 เปอร์เซ็นต์ (ของรายรับทั้งหมด)
• สำรองเงินไว้ใช้จ่าย (อย่างน้อย 6 เดือน)
• ประกันชีวิต สุขภาพ และอุบัติเหตุ
• เรียนรู้ตลอดชีวิต
• บริจาคตามกำลัง

ลองพิจารณาดูว่าชีวิตของ ท่านบรรลุเป้าหมายพื้นฐานในแต่ละข้อข้างต้นหรือยัง ถ้ายังให้กำหนดหัวข้อเหล่านี้เป็นเป้าหมาย ที่สำคัญต้องกำหนดวิธีการ กรอบเวลา รวมถึงประเมินภาพในอนาคตไว้ด้วย

ส่วนใครที่มีอิสรภาพการ เงินขั้นพื้นฐานแล้ว ก็อาจตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้นไปได้ ไม่ว่ากัน

3) ลงทุนในการเรียนรู้

“High Understanding, High Returns” ยิ่งคุณเข้าใจธุรกิจที่คุณลงทุนมากเท่าไหร่ คุณก็จะสามารถสร้างกำไรจากมันได้มากเท่านั้น จงเรียนรู้ให้หนักขึ้น เพื่อจำกัดความเสี่ยงทั้งมวลที่อาจจะเกิดขึ้น โลกไม่ได้ยากเย็นอย่างที่เราคิด แต่ที่ใครหลายคนคิดว่ามันยาก เพราะเขาเหล่านั้นไม่เคยแบ่งเวลามาสนใจใยดีกับมันต่างหาก

จงแบ่ง เวลาให้กับการเรียนรู้ทุกรูปแบบ อย่าจำกัดเฉพาะแต่ในห้องเรียน จงมองโลกให้กว้างเพื่อที่ท่านจะได้เห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่อีกมากมายบนโลกใบนี้

เราลงทุนในการเรียนรู้ด้วยอะไรบ้าง ?

เวลา
นี่คือสิ่งสำคัญที่สุดที่คุณต้อง พิจารณา ปัจจุบันคุณให้เวลากับการเรียนรู้สักแค่ไหน ถ้าคิดว่ายังน้อยไป จัดแบ่งเวลาในการเรียนรู้ให้มากขึ้น แล้วคุณจะได้รับมากขึ้น

ความคิด
คนสองคนนั่งเรียนคอร์สเดียวกัน คนหนึ่งเอากลับมาคิดต่อยอดไปสู่การกระทำ อีกคนได้แค่นั่งดีใจว่ารู้แล้ว ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับสองคนนี้ต่างกันมหาศาล

สายสัมพันธ์
การลงทุนใน สายสัมพันธ์ ก็สามารถสร้างการเรียนรู้ได้อย่างมากมาย คนหลายคนมักคบหา หรือคิดถึงคนอื่นยามที่ตัวเองเดือดร้อนเท่านั้น เรียนรู้ที่จะใช้เวลากับผู้อื่น แบ่งปันความรู้ ความคิด ความช่วยเหลือให้กับคนรอบข้างโดยเฉพาะคนที่แตกต่างจากคุณ เพราะมันจะช่วยให้โลกของคุณกว้างขึ้น ไม่เพียงแค่ความรู้ แต่มันคือโลกแห่งความรัก และความเอื้ออาทรกัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เงินก็ซื้อหาไม่ได้

ความรู้
เข้า ร่วมทำงานกับองค์กร หรือชมรมที่ท่านสนใจ เพื่อสร้างโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน อันจะก่อให้เกิดบูรณาการทางความรู้และความคิดได้เป็นอย่างดี

การตั้งคำถาม
คำถามที่ดีเป็นการสร้าง โจทย์ที่ยอดเยี่ยมให้แก่ชีวิต ในทางตรงกันข้าม คำถามแย่ ๆ ก็ทำให้คุณเป็นคนในด้านตรงกันข้ามได้เช่นกัน

ลองพิจารณาคำถามต่อไป นี้
ทำไม เราไม่เกิดมารวยเหมือนคนอื่นบ้าง
ทำไม เราไม่โชคดีเหมือนคนอื่นเขาบ้าง

เริ่ม ต้นใหม่ ตั้งคำถามที่ดีให้กับตัวเอง แล้วคุณจะได้คำตอบที่ดีกลับคืนมา

ฉันจะประสบความสำเร็จในชีวิตก่อนอายุ 35 ปี ได้อย่างไร

คำถามใหม่ ๆ จะนำคุณไปสู่การลงทุนครั้งใหม่ในชีวิต จงใช้ชีวิตกับคำถามใหม่ ๆ เลิกถามคำถามเก่า ๆ

“หุ้นตัวไหนน่าซื้อ”
“กู้ เงินแบงค์ไหน ดอกเบี้ยต่ำสุด”
“มีเงินเก็บ 50,000 ทำธุรกิจอะไรดี”

“สิ่ง ที่คุณถาม คือ สิ่งที่คุณจะได้รับ”

• อื่น ๆ อีกมากมาย (ลองคิดต่อเองนะครับ)

4) แวดล้อมตัวคุณ ด้วยคนที่คิดแบบเดียวกัน

คนเราเป็นไปตามสภาวะแวดล้อม เสมอ อิสรภาพทางการเงิน เกิดได้ทันทีที่คุณเป็นผู้เลือกกระทำ ดังนั้น จงเลือกสภาวะแวดล้อมที่จะพาชีวิตคุณไปในทางที่ดี

5. ลงมือปฏิบัติ บันทึกผล

“บิดาของ ความสำเร็จ คือ การกระทำ” คำพูดนี้ยังคงเป็นสิ่งที่เป็นจริงเสมอ

ลง มือปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้ จดรายละเอียดของทุกการกระทำสำคัญ ๆ ไว้ เพื่อเปรียบเทียบ และปรับแก้แผนงานสู่อิสรภาพทางการเงิน

6. ทบทวน

ตรวจสอบผลการปฏิบัติ กับแผนที่วางไว้ ว่าเป็นไปตามแผนแค่ไหน ต้องปรับแก้อะไร ในขั้นตอนนี้อาจปรึกษาผู้ประสบความสำเร็จเพื่อช่วยทบทวน และให้คำแนะนำในการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป

หัวข้ออะไรบ้างที่ต้อง ทบทวน

ความคิด
สิ่งนี้ เป็นสิ่งที่ต้องตรวจสอบตลอดเวลา หมั่นคอยเช็คและตรวจสอบความคิดของเราถูกต้อง หรือสอดคล้องกับแนวทางสู่อิสรภาพทางการเงิน หรือไม่

จิตใจ
ตรวจสอบจิตใจทั้งก่อนและหลังตัดสิน ใจใช้จ่าย หรือลงทุน จำเอาไว้ว่า การลงทุนที่ทำให้คุณรู้สึกไม่มีความสุขตั้งแต่ใส่เงินลงไป นั่นก็ถือว่า ขาดทุน เรียบร้อยแล้ว

งบการเงิน
ตรวจ สอบแผนที่ทุกครั้ง โดยอาจทำเป็นประจำทุกเดือน เพื่อคอยตรวจสอบว่า เราเดินออกนอกลู่นอกทางหรือเปล่า หรือเราเข้าใกล้อิสรภาพทางการเงินเพียงใด

เริ่ม ต้นตรวจสอบตัวเอง จัดทำบัญชี และวางแผนสู่อิสรภาพทางการเงินตั้งแต่วันนี้ อย่าผัดวันประกันพรุ่ง จงจำเอาไว้ว่า “อิสรภาพทาง การเงิน เริ่มต้นจากก้าวเล็ก ๆ ของทุก ๆ คน



8 นิสัยช่วยให้เป็น 'เศรษฐีเงินล้าน'!!



"พฤติกรรม" และ "นิสัย" เป็นส่วนผสมที่ทำให้คุณเป็น"เศรษฐี"ได้ แต่ในเวลาเดียวกันพฤติกรรมและนิสัยบางอย่าง ก็บันดาล "ความยากจน" ให้กับคุณได้เหมือนกัน

หากคุณลองหมั่นสังเกตนิสัยของบรรดาเศรษฐี ทั้งที่อยู่รอบตัวเราและที่อยู่ห่างตัวหน่อย ก็จะเห็นว่าพวกเขามีลักษณะนิสัยที่คล้ายๆ กัน อาจจะมีรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมจะค่อนไปในทางละม้ายคล้ายกัน

ในทางตรงกันข้ามพวกที่ไม่เคย ถูกเรียกว่าเศรษฐี ก็มักจะมีนิสัยที่ถอดแบบกันมาเช่นกันทั้ง ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ เกินตัว

ไม่ใช่นิสัยหรือพฤติกรรมทุกอย่างของคนเรา ที่จะหนุนนำให้ทุกคนขึ้นบัลลังก์ของเศรษฐีได้ เวบไซต์เอ็มเอ็มแฮบบิทส์ดอทคอม ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับ "8 นิสัยที่จะช่วยให้คุณเป็นเศรษฐีเงินล้าน" ลองสำรวจตัวเองดู บางทีคุณอาจจะมีนิสัยเหล่านี้ซ่อนอยู่ในตัวอยู่แล้วก็ได้

บางคนอาจ จะไม่มีเลย แต่ไม่เป็นไร นิสัยเหล่านี้สร้างและบ่มเพาะกันได้ หรือบางคนอาจจะแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนิดหน่อย แล้วนำนิสัยเหล่านี้มาประยุกต์ใช้อย่างไม่ยากเย็น

ลักษณะนิสัยทั้ง 8 ข้อจากนี้ไป เป็นเหมือนกฎขั้นพื้นฐานที่เศรษฐีเงินล้านส่วนใหญ่ทั่วโลกยึดถือและปฏิบัติ เพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง ซึ่งคนไทยทั่วไปสามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่าง ช่วยให้ตัวเองเป็นเศรษฐีเงินล้านได้ ด้วยหนึ่งสมองและสองมือสองขาของเรานี่เอง

1.หา เงินไว้ลงทุน..ไม่ใช่เพื่อใช้จ่าย

ใครก็ตามที่มุ่งมั่น และตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะร่ำรวยเงินทอง เพราะคนที่หาเงินได้มาก ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเป็นเจ้าของคำว่า "เศรษฐี"

เพราะบางคนหาได้เงินมากก็ใช้จ่ายมาก บางคนทำมาหากินแทบตาย แต่ต้องเอามาใช้หนี้สินที่ติดตัวอยู่

แต่สำหรับคนที่เป็นเศรษฐี จะมีนิสัยที่ค่อนข้างชัดเจนคือ เมื่อได้เงินมาก็จะนำไปต่อยอดการลงทุน เข้าตำราหาเงินไว้เพื่อลงทุน ไม่ใช่เพื่อใช้จ่าย

"คนส่วนใหญ่ทำงาน หนัก เพื่อชำระหนี้บัตรเครดิต และบำเรอความสุขให้กับชีวิตตัวเอง แต่กลุ่มคนมีเงินตระหนักว่า ถ้านำเงินก้อนที่มีอยู่ไปต่อยอดให้ออกดอกออกผลเพิ่มความมั่งคั่งให้กับตัว เองน่าจะดีกว่า" เวบไซต์เอ็มเอ็มแฮบบิทส์ให้ทัศนะ

"วิเชฐ ตันติวานิช" กรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ MAI เห็นด้วยกับนิสัยนี้ เพราะมีคนจำนวนมากที่มีรายได้เยอะ แต่เมื่อมีมากใช้มากก็ไม่มีทางที่จะเป็นเศรษฐีได้ แต่คนที่เป็นเศรษฐีก็มักจะมีนิสัยที่ต่างออกไป เมื่อมีรายได้เข้ามา แทนที่จะโหมใช้จ่าย พวกเขาจะนำเงินไปต่อยอดลงทุนเพื่อให้เงินออกดอกออกผล

2.มีแผนและทำตามแผน

เศรษฐีเงิน ล้านที่รวยได้ด้วยลำแข้งของตัวเอง ไม่ได้ร่ำรวยเพราะความบังเอิญ ส่วนหนึ่งนั่นเพราะพวกเขามีนิสัยที่มีแผนและลงมือปฏิบัติตามแผน ซึ่งนั่นเป็นแรงผลักดันที่ช่วยพวกเขาให้เดินสู่ความรวย

"การวาง แผนและทำตามแผนนำพวกเขาสู่จุดหมาย นั่นคือการลงทุนและสั่งสมความมั่งคั่งไว้ตลอดชีวิต" เวบไซต์เอ็มเอ็มแฮบบิทส์ให้ทัศนะ

"ดารบุษป์ ปภาพจน์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด 2 บลจ.กรุงไทย มองว่า เรื่องสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งมือใหม่หัดลงทุนมักจะละเลยไป คือการทำตามแผนที่วางไว้โดยเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์ “ออมเงินก่อน” หรือ Pay Yourself First โดยการหักเงินออมออกจากบัญชีเงินเดือนทันทีที่เงินเดือนออก ก่อนที่จะนำเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่น เพราะแผนที่วางไว้อย่างสวยหรูนั้น จะไม่มีประโยชน์เลย หากไม่มีการนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

การมี วินัยในแผนลงทุนนั้นยังรวมถึง ผู้ลงทุนที่เลือกการลงทุน โดยใช้กลยุทธ์เฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Averaging) ด้วยการลงทุนเป็นประจำด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน ผู้ลงทุนควรมีวินัย ไม่หวั่นไหวไปกับการขึ้นลงของภาวะตลาด โดยอาจใช้ร่วมกับแผนการลงทุนอัตโนมัติที่บริษัทจัดการต่างๆ มีไว้บริการ ซึ่งช่วยประหยัดทั้งเวลา และลดความวุ่นวายใจไปได้มากทีเดียว

วิเชฐ เห็นด้วยกับข้อนี้ ทุกคนคิดและวางแผนการเงินการลงทุนได้ว่าจะทำโน่นนี่นั่น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่วางแผนแล้วจะปฏิบัติหรือลงมือทำตามแผน ฉะนั้น ใครก็ตามที่วางแผนทางการเงินให้ตัวเอง แล้วเดินตามแผนก็มักจะมีแววที่จะเป็นเศรษฐี

3.ทำ งานหาเงินให้มากขึ้น

ความหมายข้อนี้ดูเหมือนชัดเจน เพราะกลุ่มคนมั่งคั่งมักจะพากันแสวงหาหนทาง ที่จะสร้างหรือหารายได้ให้ไหลมาเทมาอย่างต่อเนื่องอย่างไม่มีวันหยุด ด้วยการเพิ่มจำนวนเงิน ให้ทำงานออกดอกออกผลให้พวกเขาได้มากขึ้น

นี่ คือนิสัยประจำตัวของบรรดาเศรษฐี จะสังเกตเห็นได้ว่า ยิ่งร่ำรวยอยู่แล้ว ยิ่งไม่หยุดทำงาน ยิ่งมั่งคั่งอยู่แล้ว ยิ่งหาทางต่อยอดการลงทุนให้มั่งคั่งยิ่งขึ้น

เรื่องนี้วิเชฐตั้งข้อ สังเกตว่า คนที่มีเงินทองหรือร่ำรวยในระดับหนึ่งแล้ว พวกเขามักไม่เก็บเงินเอาไว้อย่างเดียว แต่หาช่องทางเพื่อขยับขยายความรวย ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้เขามักจะให้เงินทำงานช่วยอีกแรง เรียกว่าทำเงินได้ 2 เด้ง

4.เข้าใจฐานะการเงินของตัวเอง

กลุ่ม คนที่มีความมั่งคั่งต่างตื่นตัวกับการรับรู้รายได้ในบัญชีส่วนตัว และรู้ว่าการไหลเวียนของเงินที่ไหลเข้าออกในบัญชีมีเท่าไร ตรงนี้จะเห็นได้ชัดว่าต่างจากคนที่ยังไม่ได้เป็นเศรษฐี ที่มักจะไม่ค่อยสนใจและใส่ใจในฐานะการเงินของตัวเองซักเท่าไร

บางคน ยิ่งไปกว่านั้น เพราะปล่อยให้หนี้ท่วม นอกจากไม่ได้จัดระเบียบหนี้แล้ว ที่ร้ายกว่านั้นคือแทบไม่รู้เลยว่าหนี้ของตัวเองเบ็ดเสร็จแล้วมีเท่าไร

เรื่อง นี้ดารบุษป์บอกว่าก่อนที่จะทำสิ่งใดให้ประสบความสำเร็จ เราจะต้องมีการวางแผนรู้เขา รู้เรา ซึ่งการวางแผนการลงทุนก็ไม่ต่างกัน การเข้าใจฐานะการเงินของตนเองให้ถ่องแท้ เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะมิเช่นนั้นแล้ว ก็จะเหมือนการขับรถทางไกลโดยไม่เตรียมความพร้อม ไม่ได้เช็คเครื่อง หม้อน้ำ ปริมาณน้ำมัน ไม่รู้ว่ากำลังเครื่องยนต์ของรถนั้นมีมากน้อยเพียงใด สามารถขึ้นเขา ลุยโคลนได้หรือไม่

ซึ่งการละเลยไม่เข้าใจตนเองเช่นนี้ ก็มีแต่จะจะทำให้เราประสบปัญหาและอุปสรรคระหว่างทาง ต้องเสียเวลามากกว่าที่ควรเพื่อจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ หรือบางทีก็อาจหมดกำลังใจไปก่อนที่จะถึงเป้าหมาย

"ก่อนจะเริ่มต้น วางแผนการเงินนั้น เราจะต้องรู้ว่ารายรับของเรานั้นมีความสม่ำเสมอแค่ไหน มีส่วนเกินกว่ารายจ่ายหรือไม่ รวมถึงมีการกันเงินเผื่อสำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉินเพียงพอที่จะทำให้ไม่มีความ จำเป็นต้องพึ่งเงินที่ตั้งใจเก็บไว้เพื่อการลงทุนระยะยาว ซึ่งหากเราละเลยขั้นตอนนี้ไป ก็ยากที่จะถึงเป้าหมายได้ "

วิเชฐ เสริมว่า คนที่เป็นเศรษฐีมักจะมีนิสัยใส่ใจในเรื่องเงินทองอยู่แล้ว ทั้งรายรับรายจ่ายทำใส่เอ็กเซลชีทเอาไว้ ส่วนคนที่ยังไม่ได้เป็นเศรษฐี ควรจะทำอย่างยิ่ง นี่เป็นบันไดก้าวหนึ่งที่จะนำคุณไปเป็นเศรษฐีได้

5.กล้ารับความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

เวบไซต์ เอ็มเอ็มแฮบบิทส์ดอทคอมบอกไว้ว่า การเป็นผู้กล้ารับความเสี่ยง เป็นสิ่งต้องทำเพื่อเพิ่มความรวยให้ตัวเอง หากไม่เข้าไปฉวยโอกาสบางครั้ง เงินที่มีอยู่จะไม่มีโอกาสงอกเงย แต่เหนืออื่นใด ต้องเป็นความเสี่ยงที่คุณรับได้ และต้องมีการวางกลยุทธ์อย่างดีเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากภาวะ ตลาดตกต่ำหรือช่วงขาลง

ข้อนี้ วิเชฐมองว่า คนที่จะเป็นเศรษฐีได้ พวกเขามักรู้ว่าความเสี่ยงคืออะไร ประเมินได้ว่าความเสี่ยงมันใหญ่ขนาดไหน และตัวเขาเองสามารถรับความเสี่ยงได้แค่ไหน

"เพราะความเสี่ยงใน ระดับสูง ไม่ใช่ว่าเราไปยุ่งกับมันไม่ได้ คนที่เป็นเศรษฐีได้เขาจะประเมินพละกำลังของตัวเองก่อนว่า ความเสี่ยงแค่นี้ เรารับมือไหวมั้ย เพราะถึงจะเสี่ยงสูง แต่ถ้าเรารับความเสี่ยงไหว เราจัดการกับความเสี่ยงนั้นได้ โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงก็มี "

6.มีความอดทนและมีสติซ่อนอยู่ในการลงทุน

สังเกต มั้ยว่าพวกเศรษฐีเงินล้านที่ร่ำรวยจากสองมือสองขากับหนึ่งสมองของตัวเอง ไม่ได้กลายเป็นเศรษฐีเพียงชั่วข้ามคืน แต่เศรษฐีเหล่านี้เข้าใจถึงพลังแห่งดอกเบี้ยทบต้น และความพยายามลงทุนอย่างต่อเนื่องไม่หยุด เพื่อให้ได้ความร่ำรวยเป็นรางวัลตอบแทน

ดารบุษป์เปรียบเปรยให้ฟัง ว่ามีคนเคยเปรียบการลงทุนว่าเหมือนการไต่เทือกเขาสูง ยิ่งเป้าหมายสูงเพียงใด นอกจากต้องเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์แล้ว ต้องอาศัยจิตใจที่แข็งแกร่งจึงจะก้าวผ่านหุบเหวที่เป็นอุปสรรคไปได้ การลงทุนก็เช่นกัน ความผันผวนของตลาดหุ้นนั้นเกิดขึ้นมาทุกยุคทุกสมัย มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป ดังนั้น เมื่อนักลงทุนได้แสวงหาเส้นทางการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายของตนเองแล้ว ก็ควรเตรียมใจที่จะพบอุปสรรคที่จะเข้ามา

หากอุปสรรคนั้นเป็นอุปสรรค ที่ประเมินไว้ล่วงหน้าแล้ว เช่น เมื่อตัดสินใจลงทุนในหุ้นของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างจีน อินเดีย หรือรัสเซีย ซึ่งมีโอกาสรับผลตอบแทนสูง ก็ต้องเผื่อใจสำหรับโอกาสที่จะขาดทุนอย่างมากในบางช่วงเวลาด้วยเช่นกัน

วิ เชฐเสริมว่าอดทนอย่างเดียวไม่พอ สำคัญที่สุดคนที่จะเป็นเศรษฐีได้ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา เพราะคนที่มีสติจะทำให้ตัดสินใจได้ว่าในสถานการณ์นั้นๆ เขาควรตัดสินใจอย่างไร เช่นถ้าภาวะตลาดหุ้นไม่ดี คนที่มีสติก็อาจจะประเมินและตัดสินใจได้ว่า สถานการณ์ย่ำแย่แบบนี้เขาควรจะถอนตัวออกหรืออยู่ต่อเพื่อรอ หรือหาจังหวะเข้าลงทุน

7.ได้ทีมที่ยอดเยี่ยม

กลุ่มคนร่ำรวยยังคงความมั่งคั่ง ของตัวเองไว้ได้ ด้วยผู้คนแวดล้อมซึ่งเป็นที่ปรึกษาการเงินและกฎหมาย ซึ่งล้วนมีฝีมือเป็นเลิศในแวดวงอาชีพนั้นๆ นั่นเป็นประเด็นที่เราเห็นได้ว่าบรรดาเศรษฐีเงินล้านมักไม่เดินหน้าสร้าง ความร่ำรวยโดยลำพัง

"ลองสังเกตดูสิ คนที่เป็นเศรษฐีไม่ใช่ว่าทุกคนเกิดมาท่ามกลางคนที่มีความรู้เรื่องการลงทุน แต่คนเหล่านี้จะพาตัวเองเข้าไปอยู่ท่ามกลางกลุ่มคนที่มีความรู้เรื่องการลง ทุน นั่นทำให้เขามีโอกาสได้เรียนรู้แง่มุมและช่องทางต่างๆ ของการลงทุน ว่าอะไรที่จะทำให้เงินทองของเขางอกเงยขึ้น หรือมีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้เงินออกดอกออกผล" วิเชฐให้ทัศนะ

8.รับฟัง..กลั่นกรอง...นำไปใช้

นิสัย อีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้คุณเป็นเศรษฐีเงินล้านได้ด้วยความสามารถของตัวเอง คือการแสวงหาคำแนะนำจากที่ปรึกษาเชื่อถือไว้ใจได้ เศรษฐีเหล่านี้รับฟังด้วยความมุ่งมั่นมีใจจดจ่อ จากนั้นพวกเขาก็สามารถนำไปปฏิบัติและตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง เพื่อพยายามสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเอง

ดารบุษป์บอกว่าการวางแผน การลงทุนนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนชีวิต ซึ่งต้องการความมีเหตุผลสูงกว่าการเลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้ทั่วไป การฟังเขามาแต่เพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะแน่ใจได้ว่าการลงทุนที่เหมาะกับคนอื่นนั้นจะเหมาะกับตัว เราด้วย เช่น เมื่อฟังเพื่อนๆ พูดถึงผลตอบแทนที่ได้รับ ก็ต้องนำมากลั่นกรองว่าการลงทุนนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ผลตอบแทนที่ว่าสูงนั้นๆ คุ้มค่ากับความเสี่ยงหรือไม่ และตัวเรานั้นมีความพร้อมที่จะรับความเสี่ยงที่ว่านั้นแค่ไหน หรือมีวิธีที่จะลดหรือกระจายความเสี่ยงอย่างไรได้บ้าง โดยอาจต้องศึกษาจากข้อมูลการลงทุนในหนังสือชี้ชวน สอบถามผู้รู้ ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน

วิเชฐเองก็เห็นด้วยว่าคนจะเป็นเศรษฐีได้ เบื้องต้นต้องหัดรับฟังข้อมูล หาข้อมูลการลงทุนให้เยอะเข้าไว้ จากนั้นก็นำมากลั่นกรอง เพราะเมื่อได้ข้อมูลเยอะเราต้องกรอง จากนั้นค่อยนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการตัดสินใจลงทุน

"ผมว่านิสัย เหล่านี้เศรษฐีมีทุกคน บางคนข้อมูลเยอะ กลั่นกรองแล้ว แต่ไม่กล้าตัดสินใจที่จะลงทุน คุณก็เป็นได้แค่นักวิเคราะห์ แต่เป็นเศรษฐีไม่ได้" วิเชฐให้ความเห็นทิ้งท้าย

ข้อคิดในการลงทุนในหุ้นของ"กรณ์ จาติกวณิช"



...แนว ทางการลงทุนในหุ้นของ" กรณ์ จาติกวณิช" เคยให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Stock Focus เมื่อครั้งที่เขามีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเงา มิใช่ตัวจริงเสียงจริงอย่างวันนี้ว่า บัญญัติการลงทุน 7 ประการ ที่เขาใช้มาตลอด คือ
1.ต้องลงทุนในบริษัทที่ มีความเชื่อมั่นในตัวผู้บริหาร ถือว่ามีสำคัญไม่น้อยไปกว่าตัว ธุรกิจหลัก เพราะธุรกิจดียังไงถ้าผู้บริหารไม่ยึดประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นหลักบริษัท นั้นก็ไปไหนได้ไม่ไกล

2.ต้องคิดเสมอว่า เวลาซื้อหุ้น คือ การซื้อส่วนหนึ่งของกิจการ ไม่ใช่แค่ แผ่นกระดาษ ซึ่งจะทำให้มีทัศนคติที่ถูกต้องกับหุ้นที่ถืออยู่ โดยคิดในเชิงผู้ร่วมทุนมากกว่านักเก็งกำไร

3.ต้อง ไม่หลงรักกับหุ้นที่ถืออยู่ คือ ต้องประเมินในเชิงธุรกิจเสมอ การลงทุนคือ การซื้อการขาย เพราะฉะนั้นถ้าซื้อแล้วหลงรักกับมัน บางทีจะทำให้ขาดเหตุและผลในการตัดสินใจ

4.ทุก วันถือเป็นวันใหม่ ต้นทุนและที่มาไม่สำคัญ

5.ต้องมีวินัยในการยึดหลักความคิดเหล่านี้เป็น สิ่งสำคัญที่สุด

6.ความผันผวนของตลาด เป็นโอกาส ในการลงทุน อย่าไปกลัวตลาดมากเกินไป และอย่าไปเล่นกับตลาดมากเกินไป

และสุดท้าย 7.ต้อง เผื่อการคาดการณ์ที่ผิดพลาดของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องซื้อในราคา ต่ำสุด หรือขายในราคาสูงสุด ประเมินราคาที่เหมาะสมและเราพอใจ

...ปัจจุบัน ประชาชน หรือนักลงทุนส่วนหนึ่งยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการลงทุน ดังนั้นการที่จะทำให้คนมีความรู้เพียงพอที่จะประเมินความเสี่ยงให้ถูกต้อง ได้เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะในช่วงที่ผ่านมาความไม่รู้ในข้อมูลทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เสียประโยชน์ และเสียโอกาสเป็นอย่างมาก

"โอกาสมีให้แก่ทุกคน แต่ความไม่เสมอภาค เพราะระดับความรู้ ความเข้าใจข้อมูลต่างกัน ตรงนี้จึงถือเป็นประเด็นที่ท้าทาย ผมเชื่อว่าถ้าคนรู้มากขึ้น เข้าใจมากขึ้น อะไรที่เคยเข้าใจว่าเป็นความเสี่ยงก็จะกลายเป็นความเสี่ยงที่สามารถ วิเคราะห์ได้ และรับได้มากขึ้น"

ตัดข้อความจากเนื้อความในคอลัม ภ์ บริหารเงินแบบคนดัง (2)

ในคมชัดลึก วันอาทิตย์ที่ 4 มค.2552

หาเงิน...ใช้เงิน

ประโยคนี้ ผมเองได้ยินมาตั้งแต่เป็นเด็กๆ ผู้ใหญ่มักพูดและสอนเสมอว่า"ให้รู้จัก หาเงินและใช้เงิน" แต่ไม่เคยมีใครอธิบาย ความหมายที่แท้จริงของประโยคนี้.ผมเองนั้นก็เข้าใจแต่เข้าใจผิดๆมาตลอด มักเข้าใจว่าเวลาหาเงินได้ เราก็มีสิทธิ์ที่จะใช้เงินนั้นให้ได้มาซึ่งความสุขแก่ตัวเองอย่างเต็มที่ แม้ว่าบางทีเงินส่วนนั้นก็ได้มาอย่างลำบากแลกกับหยาดเหงื่อ แต่ผมก็กลับใช้เงินส่วนนี้ไปกับสิ่งของที่อยากได้ ซึ่งผมก็มีความสุขตอนที่ซื้อมาแล้ว พอหลังจากนั้นก็รู้สึกเฉยๆและแทบจะไม่กลับไปนำสิ่งของชิ้นนั้นมาใช้เลย ผมเริ่มมีของหลายชิ้นที่ได้มาด้วยลักษณะดังกล่าว.ผมพึ่งจะเข้าใจว่าคำว่า "รู้จักใช้เงิน"นั้นไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนเงินให้เป็นความพอใจแบบชั่วคราว แต่หมายถึงการรู้จักใช้เงินอย่างคุ้มค่าและจำเป็น เพื่อที่เราจะเหลือเงินเก็บ เป็นเงินออม เพื่อการลงทุนในวันข้างหน้า ไม่ว่าทุนสำหรับประกอบอาชีพในวันหน้า ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทของเราเอง หรือทุนการศึกษาของลูกเราในวันหน้า.แต่ก็ยังไม่สายเกินไปที่ผมจะเริ่มเข้าใจ คำนี้...ผมจะรู้จักหาและใช้เงินตามความหมายจริงๆสักทีครับ

40,000 บาทภายใน 7 วันกับ Diamond Holiday...ของจริง มาเป็นต้นสายก่อนใคร...ถ้าคุณรู้จัก TVI express นี่คือโปรแกรมที่จะมาทดแทนและอุดปัญหาที่เคยพบเจอ

www.diamondholidaytravel.co.cc

ไม่ ต้องรักษายอดรายเดือน

ไม่ ต้องเดินทางไปอบรม

ไม่ ต้องเก็บสต๊อกสินค้า

ไม่ ต้องขายปลีก

ไม่ ต้องเดินสุ่มให้เสียเวลา